Test2
Application
  • Home
  • แนะนำบทเรียน
  • ผังการใช้งาน
  • จุดประสงค์
  • แบบทดสอบ
    • แบบทดสอบก่อนเรียน>
      • ก่อนเรียน-หลังเรียน ชุดที่1
      • ก่อนเรียน-หลังเรียน ชุดที่2
      • ก่อนเรียน-หลังเรียน ชุดที่3
    • แบบทดสอบหลังเรียน>
      • ก่อนเรียน-หลังเรียน ชุดที่1
      • ก่อนเรียน-หลังเรียน ชุดที่2
      • ก่อนเรียน-หลังเรียน ชุดที่3
  • เนื้อหา
    • ระบบโครงกระดูก(Skeletal system)>
      • กระดูกแกน(Axial Skeleton)
      • กะโหลกศีรษะ (Skull)
      • กระดูกสันหลัง(Vertebral column)
      • กระดูกอ่อน(Catilage)
      • หมอนรองกระดูก(Intervertebral dish)
      • กระดูกซี่โครง(Ribs)
    • ระบบกล้ามเนื้อ(Muscular System)>
      • 1.กล้ามเนื้อลายหรือกล้ามเนื้อยึดกระดูก
      • 2.กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle)
      • 3.กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle)
      • การทำงานของกล้ามเนื้อ
      • การคลายตัวของกล้ามเนื้อ (Relaxztion of muscle)
  • วีดีโอ
  • เว็บไซต์อ้างอิง
  • ผู้จัดทำ
  • คู่มือ

Intervertebral Disc

หมอนรองกระดูกสันหลัง

Button Text
Picture
Picture

หมอนรองกระดูกสันหลัง (Intervertebral Disc) 

เป็นอวัยวะรูปร่างคล้ายหมอนรองศีรษะ
หน้าตาดังรูปขวามือ ขนาดเส้นผ่าศูนย์ กลางประมาณหนึ่งนิ้วเศษ หนาประมาณ
หนึ่งเซนติเมตรเชื่อมต่ออยู่ระหว่าง 
กระดูกสันหลัง แต่ละข้อ ตั้งแต่ระดับคอ
จนถึงก้นกบ เมื่อนับทั่วแล้วในคนปกติ
มีทั้งหมด 23 ชิ้น 

Picture
มีลักษณะโดยรวมคล้ายๆโดนัท มีเปลือกเหนียวภายนอกเปรียบเสมือนเปลือกขนมปังซ้อนกันเป็นชั้นๆหนาๆลักษณะเป็นวัสดุเหนียวซ้อนเป็นชั้นๆ เป็นวงรอบ ดังรูปซ้ายเรียกว่าเปลือก แอนนูลัส ไฟโบรสัส (Anulus Fibrosus)
ซึ่งมีหน้าที่ในการเป็นเหมือนปลอกหมอนที่หุ้มไส้หมอนไว้ภายในอายุมากขึ้น Anulus Fibrosus นี้
จะแตกปริฉีกง่ายขึ้น และเป็นสาเหตุของการเกิด หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้น
(HNP)Herniated Nucleus Pulposus  


Picture
หมอนรองกระดูกสันหลัง มีไส้อ่อนนุ่มอยู่ตรงกลางเรียกว่านิวเคลียส พัลโพสุส(Nucleus Pulposus)
ไส้อ่อนนุ่มกลางนี้ตอนวัยเด็กจะมีลักษณะคล้ายเจลและค่อยๆมีลักษณะแห้งลงเรื่อยๆเมื่ออายุมากขึ้น
ซึ่งทำให้คุณสมบัติที่ยืดหยุ่นรองรับแรงกระแทกของหมอนรองกระดูกนี้ค่อยๆลดลงไปด้วยตามวัย
เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุ ก้ม-เงยได้น้อยลงและ ส่วนสูงลดลงเรื่อยๆ 


Picture
คุณสมบัติที่ยืดหยุ่นได้เช่นนี้ทำให้ กระดูกสันหลัง ทั้งท่อนยาวโดยรวมยืดหดได้เล็กน้อยตามน้ำหนักโดยรวมยืดหดได้เล็กน้อยตามน้ำหนักตัวและแรง
โน้มถ่วงโลกอีกทั้งสามารถเคลื่อนไหวสัมพันธ์ กันได้คล้ายกระดูกงูหรือสปริงทำให้ร่างกายก้ม-เงย บิดตัวซ้าย-ขวาได้โดยที่กระดูกสันหลัง
แต่ละข้อไม่ทรุดหรือหลุดออกจากกัน 


Picture
Picture
Picture
เนื่องจาก หมอนรองกระดูกสันหลัง เป็นอวัยวะที่ตำแหน่งอยู่ใกล้กับเส้นประสาท(สีเหลืองภาพซ้าย)ดังนั้น เมื่อมีการโป่งยื่นหรือแตกเคลื่อนของหมอนรองกระดูกสันหลังแล้วส่วนที่เรียกว่าNucleus Pulposus  จะถอยหลังออกมากดทับกับเส้นประสาท ซึ่งก่อให้เกิดอาการปวดร้าวตามเส้นประสาทที่ถูกกดทับนั้น 
กลายเป็นโรคปวดขาหรือแขนที่เราเรียกว่า 
หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท
(HNP,Herniated Nucleus Pulposus) 
Powered by Create your own unique website with customizable templates.